วันอาทิตย์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2551

Trend ใหม่มาแรง C - SF - SG

Trend ใหม่มาแรง C - SF - SG
แชมป์เกม FreeStyle ในงาน ESTC 2008 และงาน FreeStyle Asian Open ต่างก็ประกอบด้วยตำแหน่ง C - PF - PG ทั้ง 2 งาน ซึ่งก็เป็นที่ยอมรับกันว่า C - PF - PG เป็นตำแหน่งที่สามารถเล่นกันได้อย่างลงตัว แต่เมื่อผู้เล่นในประเทศไทยเริ่มที่จะมีประสบการณ์มากขึ้น ก็เริ่มที่จะแก้เกมของทีมที่ประกอบด้วย C - PF - PG กันได้มากขึ้นเรื่อยๆ แล้ว เหล่าเซียน FreeStyle จึงต้องสรรหารูปแบบทีมการเล่นที่แปลกใหม่เพื่อเป็นหนึ่ง ไม่ใช่ที่สอง ไม่เป็นรองใคร!!

จุดเด่นของทีมที่ประกอบด้วย C - PF - PG คือการเล่นเกมป้องกันอย่างเหนียวแน่น เพราะมีทั้ง Center กับ Power Forward ที่ช่วยกันเล่นเกมรับ ทั้งบล็อก ทั้งรีบาวด์ แล้วใช้ความคล่องตัวของ Point Guard วิ่งป่วนคู่แข่ง และคอยส่งบอลไปให้กับ Power Forward ดั๊งค์ทำแต้มอย่างต่อเนื่อง แต่จุดบอดของทีมรูปแบบนี้คือการเล่นที่ชัดเจนเกินไป โดยการให้ Power Forward ดั๊งค์เป็นคนทำแต้มทั้งหมดเกือบ 100% ดังนั้นถ้าต้องไปเจอกับ Center มือพระกาฬที่สามารถกระโดดบล็อกได้อย่างแม่นยำ แล้ว Guard ทีมเขาก็ยังสามารถแย่งตะครุบเก็บบอลไปได้แบบเชื่อใจได้ ผมว่าทีมที่ประกอบด้วย C - PF - PG ตกที่นั่งลำบากแล้วล่ะ

ดังนั้นเทรนด์ใหม่มาแรงอย่าง C - SF - SG จึงแจ้งเกิดในช่วงหลังนี่เอง ด้วยความสามารถทำทั้ง 2 และ 3 คะแนนของ Small Forward กับความแม่นยำ 3 แต้มของตำแหน่ง Shooting Guard ทำให้เกมรุกค่อนข้างจะจับตัวได้ยาก และถ้า Shot Clock บีบเข้ามา ก็ให้ส่งบอลไปให้กับ Small Forward ใช้ลีลาวัดดวงเข้าไปทำแต้มก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นสกิล Two Step Toss, Fade Away Middle Jump Shot, Double Clutch หรือสกิลอะไรก็แล้วที่พี่แกมีก็จัดไป

ส่วนตำแหน่ง Shooting Guard ก็หาโอกาสยิง 3 คะแนนเมื่อโอกาสมาถึง เก็บคะแนนให้กับทีมไป แต่สำคัญมากที่ Shooting Guard จะต้องไม่ดื้อ ไม่รั้น เพราะถ้าต้องไปเจอกับมือป้องกันระดับพระกาฬ โอกาสยิง 3 แต้มโล่งๆ คนเดียว ใช่ว่าจะมีกันบ่อยๆ นับครั้งได้เลย ดังนั้นต้องรอโอกาส ไม่มีโอกาสก็ส่งบอลไปให้ Small Forward หรือ Center ทำแต้มไป

ด้านเกมป้องนั้น ยอมรับว่าเป็นรองทีม C - PF - PG จริง แต่ก็ไม่ได้มากมายอะไร ก็ถ้าจะให้เปรียบเทียบ ถ้าทีม C - PF - PG ได้คะแนนป้องกันเต็ม 10 ผมว่าทีม C - SF - SG ก็ได้คะแนนป้องกัน 9 แหละ มันต่างกันนิดเดียว หรือถ้าใครจะเถียงว่า โห... Small Forward จะรีบาวด์สู้ Power Forward ได้ยังไงล่ะ ใช่มันจริง แต่มันก็อยู่ที่ตำแหน่งการยืนด้วย ถ้า Small Forward ยืนตำแหน่งได้เปรียบโอกาสรีบาวด์ได้ก็สูง แล้วถ้าเอาเข้าจริงๆ ส่วนมากตำแหน่งที่รีบาวด์แย่งบอลกันก็คือ Center อยู่ดี และเห็นได้บ่อยครั้งที่ Center ทั้ง 2 ทีม กับ Power Forward จะกระโดดแย่งรีบาวด์กัน แล้วก็มีคนหนึ่งใช้สกิล Chip Out ผลคือทั้ง 3 ตำแหน่งที่กระโดดแย่งรีบาวด์กันอดหมด บอลลอยอยู่กลางอากาศ แล้วเสียง “รีบาวด์” ก็ดังขึ้น เมื่อ Small Forward กระโดดรีบาวด์ในจังหวะที่ทั้ง 3 ตำแหน่งตัวกำลังร่วงลงสู่พื้น จากนั้นเสียง “กู๊ดจ๊อบ” หรือเสียง “ไนซ์แอสซิซ” จากเพื่อนร่วมทีมก็จะดังขึ้นมา ดังนั้นถ้า Small Forward เห็นว่าทั้ง 3 ตำแหน่งกำลังกระโดดรีบาวด์บอลกัน ไม่ต้องกระโดดแย่งกับเขานะครับ เจียมสังขารเสียบ้าง -“- แล้วรอให้บอลลอยอีกครั้งด้วยสกิล Chip Out เพื่อที่จะกระโดดรีบาวด์เอาบอลไปแบบเท่ๆ ดีกว่าไหม ^๐^





มาดูหน้าที่ของตำแหน่ง Center กันบ้าง ก็ให้เล่นเกมป้องกันไปตามปกติ ทั้งการรีบาวด์บอล และบล็อก แต่ก็ต้องทำแต้มบ้างเพื่อให้ทีมมีการบุกที่หลากหลาย เพราะถ้าเป็นทีม C - PF - PG แต้มจะได้จากการดั๊งค์ของ Power Forward เป็นหลักเกือบจะ 100% คู่แข่งจึงสามารถจับทางรูปแบบการบุกได้อย่างง่ายดาย แต่ถ้าเป็นทีม C - SF - SG ทั้ง Small Forward กับ Shooting Guard สามารถที่จะโกยคะแนนให้กับทีมได้อย่างสบายๆ แล้วถ้า Center ก็ยังทำแต้มเองบ้างในบางครั้ง แต้มก็จะมาจากทั้ง 3 ตำแหน่งในทีม คู่แข่งคงก็หนักใจมิใช่น้อย แต่ขอย้ำนะครับว่า Center ควรบุกทำแต้มบ้างเอง แค่ในบางครั้ง เพราะว่าถ้าต้องไปเจอกับ Center ที่เล่นเกมป้องกันอย่างเหนียวแน่นแล้ว อาจจะโดน Block & Catch คว้าไปได้ดื้อๆ เลยนา (แถวบ้านเรียกว่าได้ไม่คุ้มเสียครับ) หรือจะทำแต้มจากการ Tip-in-Shot หรือ Tap Dunk ไปเลยก็ได้ และ Center หลายๆ คนชอบที่จะรีบาวด์มากกว่าการ Tip-in-Shot หรือ Tap Dunk ลงไปเลย เพราะคิดว่าถ้ารีบาวด์บอลได้แล้ว ส่งบอลให้กับ Small Forward หรือ Shooting Guard ส่อง 3 คะแนนดีกว่า อย่าได้คิดอย่างนั้นนะครับ ถ้ามีโอกาสทำแต้มก็ต้องเอาหมด!! และอีกหน้าที่หนึ่งของ Center ในรูปแบบทีม C - SF - SG คือจะต้องหูตาไวมากกว่า Center ในรูปแบบทีม C - PF - PG เพราะว่าถ้ารีบาวด์บอลได้จะต้องดูให้ไวว่า Shooting Guard หรือ Small Forward ยืนรอใส่ 3 คะแนนโล่งๆ คนเดียวหรือเปล่า หรือถ้าว่างทั้งคู่ ก็ต้องตัดสินใจจ่ายบอลให้กับ Shooting Guard เพราะแม่นยำ 3 คะแนนกว่า Small Forward อันนี้ต้องอยู่ในวิจารณญาณในเสี้ยววินาทีจริงๆ ต่างกับ Center ในทีม C - PF - PG ที่เมื่อรีบาวด์บอลได้ ก็ดูแค่ว่า Point Guard ยืนอยู่คนเดียวโล่งๆ รอยิงอยู่ที่ 3 คะแนนหรือเปล่าแค่นั้น...
เป็นยังไงบ้างครับ สำหรับรูปแบบทีมเทรนด์ใหม่ที่กำลังมาแรง ใหม่มา เก่าต้องไป ของมันต้องมีตกยุคกันบ้างคร้าบบ ปล. แต่ผมไม่ได้บอกว่าทีม C - SF - SG เก่งกว่าทีม C - PF - PG นะ >_<

ชุมชน เพื่อสังคมมหาชน Tips คอมพิวเตอร์ Hi5 SEO ขำขัน รูปภาพ

สนุก! ข่าวไอที

ชมภาพ วิดิโอ ตัวอย่าง เกมส์ AION